วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของประเพณีเเซนโฎนตา



ประเพณีแซนโฎนตาที่สุรินทร์

           ชาวสุรินทร์ชนเผ่าเขมรพื้นเมือง ร่วมจัดงานงานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ครั้งที่ 9 ยิ่งใหญ่ เพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ อุทิศส่วนบุญแก่ผู้ล่วงลับ ลูกหลานได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และพบปะญาติมิตร เกิดความสามัคคีระหว่างพี่น้องในพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่บริเวณลานอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ถนนกรุงศรีนอก เทศบาลเมืองสุรินทร์



อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113850

           ชาวสุรินทร์เป็นคนไทยซึ่งพูดภาษาเขมรมีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานานเป็นภาษาท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้รุ่นลูกรู่นหลานต่อไปเช่นเดียวกับพิธีแซนโฏนตา ที่สืบทอดกันมายาวนานเช่นกันความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรมขอมที่เก่าแก่ของชาวสุรินทร์ผสมผสานกลมกลืนกันมายาวนานนับร้อยปี  โดยมีคนพื้นเมืองอยู่ร่วมกัน นั้นก็คือชาวกวย /กูย หรือส่วย ,เขมร และชาวลาว แต่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ก็คือชาวกวย/กูยหรือส่วย ที่มีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างโดดเด่นนั้นก็คือ มีวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับช้าง เลี้ยงช้างประดุจหนึ่งคนในครอบครัว ให้ความรักและความเอ็นดูจนเกิดความรักความผูกผัน ระหว่างคนกับช้างแถมทุกหลังคาเรือนของหมู่บ้านช้าง ตากลาง จะมีช้างทุกบ้าน และมีวิถีชีวิตทางด้านวัฒนธรรม สืบทอดเป็นประเพณีกันมาอย่างยาวนาน เช่น ประเพณีบวชนาคช้างฯ ใครที่ยังไม่เคยมาเที่ยวสุรินทร์ ลองหาเวลาว่างออกเดินทางไปค้นหา “เสน่ห์สุรินทร์” แล้วท่านจะประทับใจไม่รู้ลืม 

        
อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113850





ทั้งนี้ ประชาชนจากชุมชน และอำเภอต่างๆ โดยผู้หญิงแต่งกายประจำถิ่นด้วยผ้าถุงไหม เสื้อไหมสีขาว และชายนุ่งโสร่งผ้าไหม สวมเสื้อสีข้าว จัดริ้วขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ขบวนเครื่องเซ่นไหว้แซนโฎนตา เช่น ไก่ เนื้อ หมู ปลา ข้าวสาร ข้าวสวย ผลไม้ ขนมกระยาสารท และข้าวต้มหางยาว ข้าวต้มใบมะพร้าว ใส่กระเชอแซนโฎนตา เคลื่อนขบวนจากด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ มายังด้านหน้าอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง สถานที่ประกอบพิธี และวางเครื่องไหว้ไว้โดยรอบอนุสาวรีย์
       






ประเพณีแซนโฎนตา

             ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรพื้นบ้านสุรินทร์เห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนเองได้ แซนโฎนตาให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเองเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลาน ไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้น ลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่น จึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ มาตราบจนทุกวันนี้ โดยจะแบ่งพิธีเป็น 2 ช่วงคือ "สารทเล็ก" หรือ "เบ็ญตู๊จ" ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 และ "สารทใหญ่" หรือ "เบ็ญธม" ตรงกับแรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งถือเป็นวันแซนโฎนตา



การห่อข้าวต้ม

ใส้ขนมทำจากมะพร้าว

การทำแป้ง(แป้งข้าวเหนี่ยว)

การห่อขนมเทียน

             สำหรับการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้นั้น ประกอบด้วย อาหารคาว – หวานพื้นบ้าน ผลไม้ และเครื่องดื่ม เช่น ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกงวุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู และไก่นึ่งซึ่งต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค (ขนมดอกบัว) ขนมโกรด ข้าวกระยาสารท์ ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่างๆ เป็นต้นอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เสื่อหวาย ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้าขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง อาภรณ์ต่างๆ พาน ธูป เทียน กรวย 5 ช่อ ที่ทำจากใบตองสดม้วนเป็นกรวย แล้วสอดด้วยธูปและใบตรุยการจัดกรวย 5 ช่อ คือ ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

แซนโฎนตา ที่ บ้านเลขที่ 31 บ้านตาบอด หมู่ 3 ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 
วันที่ 10 ตุลาคม 2558



             ประเพณีแซนโฎนตาเป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ลูกหลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลายหมื่นหรือนับแสนคน ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน





              คำว่า "แซนโฏนตา" มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย ตา ปู่ และย่า หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว คำว่า “โฎน“ เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียนแทนตาและปู่ โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวเขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัวอักษร "ฏ" แทน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาเป็นระยะเวลานานนับพันปี โดยจะมีการเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้านการประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ (เครื่องเซ่นไหว้) รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่วัด






จัดทำโดย
1. นางสาวพัชรี กระแสโท 56125460102
2. นางสาวสุพัฒชา สระแก้ว 56125460113
3. นางสาวกิตติญา หวังผล 56125460122
4. นางสาวจิราวรรณ เพิ่มดี 56125460123
5. นางสาวกมล บุญชอบ 56125460126
6. นางสาวณัฐกานต์ ไกรสุข 56125460132